การรักษาพยาบาลเด็กทารกแรกเกิดที่บ้าน

ทางโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยคาโรลินสกา จะให้บริการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านแก่เด็กที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลเฉพาะทางในช่วงแรกเกิด ซึ่งหมายความว่า พยาบาลจากหน่วยบริการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านจะมาที่บ้านคุณสัปดาห์ละครั้ง หรือหลายครั้งตามความจำเป็นของเด็ก หน่วยบริการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านจะดำเนินการร่วมกันกับแผนกทารกแรกเกิดของโรงพยาบาลของเราในโซลนา ฮุดดิงเง และดันเดอรีด

ติดต่อเรา:

ในช่วงเวลากลางวันคุณสามารถโทรหาพยาบาลได้ที่แผนกบริการสุขภาพที่บ้าน หากเราไม่รับโทรศัพท์คุณสามารถฝากข้อความไว้หรือส่งข้อความเอสเอ็มเอสได้ตลอดเวลา สำหรับกรณีเร่งด่วนนอกเวลาทำการคุณสามารถโทรหาแผนกทารกแรกเกิด กรณีฉุกเฉินกรุณาโทร 112

หน่วยบริการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านโรงพยาบาลเด็กฮุดดิงเง อัสตริด ลินด์เกร็น (Astrid Lindgren)

เวรเผื่อเรียก: Neonatalavdelningen Huddinge 0737-454961

Anneli Persson 08-585 812 70
Jessica Söderdahl 08-585 896 28

หน่วยบริการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านโรงพยาบาลเด็กดันเดอรีด อัสตริด ลินด์เกร็น (Astrid Lindgren)

เวรเผื่อเรียก: Neonatalavdelningen Danderyd 08-123 554 20

Susanna Cambrand 072-596 81 24
Annika Day 072-596 81 12
Rebecka Sabel 076-050 19 88
Gun-Britt Manns 073-620 42 67

หน่วยบริการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านโรงพยาบาลเด็กโซลนา อัสตริด ลินด์เกร็น (Astrid Lindgren)

เวรเผื่อเรียก: Neontalavdelningen Solna 08-517 740 92

Karin Sjöberg 072-254 21 57
Rose-Marie Wacker 070-002 14 80

ข้อบ่งชี้ในการที่จะสามารถพยาบาลที่บ้าน

  • การหายใจและการไหลเวียนเลือดของเด็กมีความเสถียร
  • เด็กรักษาอุณหภูมิของร่างกายได้คงที่ โดยไม่ต้องใช้เบาะทำความอุ่น
  • คาร์ซีทในการเดินทางระหว่างบ้านและโรงพยาบาล ด้วยรถยนต์หรือแท็กซี่ (มีบัตรโดยสารสำหรับผู้ป่วย)

การบริการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านหมายถึงอะไรในทางปฏิบัติ

หน่วยบริการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน จะมีเจ้าหน้าที่บริการตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ในเวลากลางวัน เด็กที่อยู่ในระยะการรักษา จะยังคงมีสถานะเป็นผู้ป่วยของแผนทารกแรกเกิด หมายความว่า คุณสามารถโทรติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาแนะนำได้ตลอด 24 ชั่วโมง ก่อนที่จะเปลี่ยนไปสู่การบริการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน คุณจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีในการสังเกตลูกของคุณที่ดีที่สุด นอกจากนี้คุณยังต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการรักษาใด ๆ ที่จะต้องทำที่บ้าน เช่น การให้อาหารทางสายยาง หรือการรักษาด้วยการส่องไฟ

การเยี่ยมบ้านจะกำหนดตามความจำเป็นของเด็กและของคุณ และอาจแตกต่างกันในช่วงระยะเวลาการรักษา โดยคุณอาจยังต้องมาโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจหรือ เช่น การใส่สายยาง เด็กจะพ้นจากสถานะผู้ป่วยเมื่อเด็กนั้นมีความเสถียรทางการแพทย์ สามารถกินเองได้โดยการให้นมแม่หรือการให้อาหารอื่น ๆ และมีน้ำหนักเป็นที่น่าพอใจ อาจจะหยุดการรักษาด้วยการส่องไฟ และค่าบิลิรูบิน (Bilirubin) ลดลงอยู่ในระดับคงที่ หากเด็กติดเชื้อจากที่บ้านและจำเป็นต้องกลับเข้าพักรักษาตัวใหม่ โดยปกติแล้วจะไม่ให้รักษาที่แผนกทารกแรกเกิด เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงมากที่จะแพร่เชื้อต่อผู้ป่วยรายอื่น

การเยี่ยมบ้าน

พยาบาลจะทำการประเมินสภาวะสุขภาพโดยทั่วไปของเด็ก - เช่น ความสามารถในการอยู่รอด การหายใจ น้ำมูก อุณหภูมิร่างกาย สีผิว รอยพับ อุจจาระและปัสสาวะ จะตรวจวัดน้ำหนักของเด็กและประเมินแผนโภชนาการร่วมกับพ่อแม่ กรณีจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนสายยางและดำเนินการเก็บตัวอย่างใด ๆ พยาบาลมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนตามความจำเป็นของพ่อแม่ มีเวลาให้สำหรับคำถามและข้อมูลตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

วิธีการเดินทาง

ทุกคนที่เป็นผู้ป่วยของหน่วยบริการผู้ป่วยพยาบาลที่บ้าน จำเป็นต้องเดินทางไปมาระหว่างโรงพยาบาล หากคุณไม่มีรถยนต์ของตัวเอง คุณจะได้รับบัตรโดยสารผู้ป่วยซึ่งใช้กับการเดินทางด้วยรถแท็กซี่ได้ การเดินทางไปหรือกลับจากโรงพยาบาลหนึ่งเที่ยวมีค่าใช้จ่าย 140 kr. ไม่แนะนำให้ใช้ขนส่งสาธารณะในระหว่างที่ป่วย เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ควรนำเบาะนิรภัยเด็ก/คาร์ซีทที่ได้รับการรับรองไปโรงพยาบาล เพื่อใช้สำหรับเดินทางกลับบ้าน ทั้งนี้สามารถยื่นขอไมล์สะสมสำหรับการเดินทางด้วยรถยนต์ของตัวเองได้

การให้อาหารทางสายยางที่บ้าน

  • อุ่นอาหารในชามอ่างน้ำที่อุณหภูมิประมาณ 37 องศาเซลเซียส
  • ทิ้งอาหารที่เหลือหลังจากมื้ออาหาร
  • จำนวนไซริงค์ให้อาหารจะเติมเพิ่มโดยหน่วยบริการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านในช่วงระยะการรักษา
  • ตรวจสอบตำแหน่งสายยางเสมอก่อนที่จะเริ่มให้อาหารทางสายยาง
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเทปติดแน่นสนิทดี
  • ตรวจสอบว่าเครื่องหมายสีแดงอยู่ที่ตำแหน่งปีกจมูก และอยู่ตรงกับเครื่องหมายตัวเลข
  • ต่อไซริงค์ให้อาหารกับสายยางแล้วค่อย ๆ ดึงก้านฉีดออกช้า ๆ (คืน) หากมีปริมาณอาหารที่เหลือค้างในกระเพาะตามขึ้นมา เป็นสัญญาณชี้ว่าสายยางนั้นได้อยู่ในกระเพาะแล้ว
  • หากไม่มีปริมาณอาหารที่เหลือค้างในกระเพาะตามขึ้นมาเลย ให้ลองฉีดดันลมเข้า 2 มล. แล้วดึงก้านฉีดออกอีกครั้ง นอกจากนี้คุณยังเปลี่ยนตำแหน่งของทารก หรือป้อนอาหารทางปากในปริมาณเล็กน้อยด้วยช้อนหรือถ้วยป้อน หรือจุกดูดได้ด้วยเช่นกัน
  • หากเด็กได้เริ่มกินนมแม่แล้วอาหารจากกระเพาะจะออกมาง่ายขึ้น เมื่อการทดสอบตำแหน่งของสายยาง
  • ห้ามให้อาหารถ้าไม่มีอาหารจากกระเพาะกลับคืนมาในสายยางเนื่องจากสายยางอาจอยู่ผิดตำแหน่ง
  • การให้เด็กนอนบนหน้าอกหรือในอ้อมกอดแบบเนื้อแนบเนื้อ ขณะให้อาหารทางสายยางจะเป็นผลดีแก่เด็ก เพื่อให้เด็กการเชื่อมความรู้สึกอิ่มกับเต้านมของแม่ และเพื่อเป็นการสร้างสายใยใกล้ชิด และเพื่อให้คุณได้ดูว่าเด็กตอบสนองต่ออาหารอย่างไร
  • เมื่อให้อาหารทางสายยางเสร็จแล้วให้ฉีดดันลมประมาณ 0.5 มล. เข้าสายยาง
  • ทำความสะอาดไซริงค์ให้อาหารโดยถอดออกจากกัน ล้างด้วยน้ำเย็นก่อนแล้วจึงล้างด้วยน้ำอุ่น ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง นำมาใช้ซ้ำและเปลี่ยนไซริงค์วันละสองครั้งเช้าและเย็น
  • ไม่ควรต้มไซริงค์ให้อาหาร หรือล้างในเครื่องล้างจาน
  • การให้อาหารทางสายยางนั้นควรเป็นพ่อแม่/ญาติ ที่ผ่านการฝึกการให้อาหารทางสายยางกับพยาบาลแล้วเท่านั้น
  • พยาบาลเยี่ยมบ้านจะเปลี่ยนสายยางให้ใหม่ทุก ๆ 1-2 สัปดาห์

ฉันสามารถสังเกตสภาวะสุขภาพโดยทั่วไปของลูกฉันได้อย่างไร

ผู้เป็นพ่อแม่จะรู้จักลูกของตนดีที่สุด ดังนั้นข้อสังเกตต่าง ๆ ที่พ่อแม่จะทำนั้นจึงมีสำคัญมาก ให้ใส่ใจเป็นพิเศษกับ:

  • สีผิวของเด็ก เช่น ความซีด
  • หากเด็กเหนื่อยและไม่มีแรงที่จะกิน
  • อุณหภูมิร่างกายของเด็ก
  • ภาวะคัดแน่นจมูก น้ำมูก และตาแฉะ โปรดมีน้ำเกลือไว้ที่บ้าน
  • หากเด็กเริ่มอาเจียนออกเยอะมากไม่ว่าจากอาหารชนิดใด เช่น ตอนเด็กอยู่ในท่าแนวนอน และถ้าทำหน้าบูดเบี้ยวและไม่อยากกินอะไร
  • ถ้าสะดือมีอาการแดงและแฉะ – ใช้ผ้าก๊อซเช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำเกลือ

อุปกรณ์ชุดแรกที่บ้าน

จัดส่งจากแผนก

  • ไซริงค์ให้อาหาร (กระบอกฉีดให้อาหาร)
  • เทปสำหรับติดสายยางเพิ่ม
  • ที่ปั๊มนมสำหรับยืม/เช่า
  • นมผสมสำหรับทารกเกิดก่อนกำหนดหากมีใบสั่งยา
  • สารอาหารเพิ่มเติมใด ๆ ที่ใช้ผสมในนมแม่/นมผงสำหรับทารก
  • ยาใด ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ที่บ้าน

ทุกครอบครัวจะได้รับกล่องพร้อมอุปกรณ์ของใช้ในการเยี่ยมบ้านครั้งแรก กล่องนี้จะต้องเก็บให้ห่างจากพี่น้องของเด็ก และพยาบาลจะใช้อุปกรณ์ดังกล่าวเมื่อไปเยี่ยมบ้าน

สิ่งของที่จะต้องซื้อกลับบ้าน

  • ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (ผ้าอ้อมสำเร็จรูปทารกคลอดก่อนกำหนดมีขายที่ร้านขายยา)
  • น้ำเกลือสำหรับทำความสะอาดจมูกและตา กรณีที่ต้องใช้
  • เทอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดอุณหภูมิร่างกาย
  • แผ่นป้องกันหัวนมแม่และจุกนมยางหากใช้
  • ขวดสำหรับอุ่นอาหาร
  • ครีม

ติดต่อหน่วยบริการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านเมื่อ...

  • สายยางหลุดและไม่มีเวรเยี่ยมบ้านภายในไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า
  • อุณหภูมิร่างกายของเด็กต่ำกว่า 36.5 องศาเซลเซียส แม้ว่าคุณได้พยายามเพิ่มความอบอุ่นให้เด็กแล้วก็ตาม
  • ลักษณะการหายใจของเด็กและการเปลี่ยนแปลงของสีผิว
  • เด็กเหนื่อยผิดปกติและไม่สามารถกินได้เหมือนเมื่อก่อน
  • ไม่มีอะไรจากกระเพาะกลับคืนมาในสายยาง ตอนคุณทดสอบตำแหน่งสายยาง

นอกเวลาทำการโปรดติดต่อแผนกทารกแรกเกิด

คำแนะนำ