ภาวะเส้นเลือดจอประสาทตาผิดปกติในทารกที่คลอดก่อนกำหนด (ROP)

เด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดเร็วเกินไปจะมีจอประสาทตาที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ และเมื่อแรกเกิดการเจริญเติบโตของเส้นเลือดในจอประสาทตายังไม่สมบูรณ์ การควบคุมการเจริญเติบโตของหลอดเลือด ได้รับผลกระทบจากระดับออกซิเจนในเลือดของเด็ก ซึ่งระดับออกซิเจนที่สูงจะเสี่ยงต่อความเสียหายของดวงตาที่เรียกว่า ภาวะเส้นเลือดจอประสาทตาผิดปกติในทารกที่คลอดก่อนกำหนด (ROP) สำหรับเด็กที่บำบัดด้วยการให้ออกซิเจนเสริมจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาระดับออกซิเจนให้อยู่ในระดับที่กำหนด

การเกิด

ไม่พบ ROP ในเด็กที่เกิดหลังสัปดาห์ที่ 31 และยิ่งเด็กที่สมบูรณ์น้อยเท่าไหร่ความเสี่ยงยิ่งสูงมากขึ้นเท่านั้นในตอนที่เด็กคลอดออกมา

การวินิจฉัยโรค

เด็กที่เกิดก่อนสัปดาห์ที่ 31 จะได้รับการตรวจโดยจักษุแพทย์ตั้งแต่อายุ 4-5 สัปดาห์ และจะมีการตรวจซ้ำจนกว่าทั่วทั้งจอประสาทตาจะมีเส้นเลือด

การทำนายอาการโรค

เด็กส่วนใหญ่ที่มีภาวะ ROP จะค่อย ๆ หายได้เองตามธรรมชาติ แต่ในกรณีที่มีภาวะ ROP ขั้นสูงจะมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียจอประสาทตาการรักษา ROP ในระยะที่รุนแรงขึ้นจะฉีดยาเฉพาะเข้าไปในดวงตา ในกรณีที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญเสียจอประสาทตาสามารถเร่งการรักษาโดยใช้เลเซอร์ เพื่อช่วยแนบจอประสาทตากับเยื่อหุ้มลูกตาสีขาว วิธีนี้จะช่วยให้การมองเห็นของเด็กดีขึ้น

เนื้อหา: Kajsa Bohlin Blennow พยาบาลวิชาชีพ