ภาวะสูดสำลักขี้เทาในเด็กแรกเกิด (MAS)

ขี้เทา (Mekonium) คือชื่อของของเสียซึ่งถูกรวบรวมไว้ที่ลำไส้ต่าง ๆ เมื่อตอนทารกอยู่ในครรภ์ หากเด็กคนหนึ่งคลอดออกมาด้วยความยากลำบากจะมีความเครียดสูง ตัวอย่างเช่น เนื่องจากการขาดออกซิเจน สามารถนำไปสู่การที่เด็กขับถ่ายของเสียในน้ำคร่ำ และแม้กระทั่งพยายามที่จะหายใจให้ได้ก่อนที่จะคลอดออกมา ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ปอดของเด็กมีอุจจาระที่ปนอยู่กับน้ำคร่ำอาจพูดได้ว่าเด็กได้สูดสำลักขี้เทา

ขี้เทาก่อให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบ ซึ่งเป็นปอดอักเสบทางเคมีชนิดหนึ่ง บางทีเด็กจะมีภาวะการหายใจลำบากทันทีตั้งแต่หลังคลอดออกมา บางครั้งอาจมีอาการหายใจดังฮืด ๆ ต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้นตั้งแต่ชั่วโมงแรก ๆ ของการมีชีวิต และมักจะมีอาการแย่ลงอย่างรวดเร็ว ในฟิล์มเอ็กซเรย์ปอดเราจะเห็นเป็นลายด่าง ๆ

การรักษาคือการให้ออกซิเจนใช้เครื่องซีแพพและเครื่องช่วยหายใจ ในกรณีที่อาการหนักให้ยาปฏิชีวนะเนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย

ภาวะสูดสำลักขี้เทาในเด็กแรกเกิด (MAS) มักจะเป็นสาเหตุให้ความดันเลือดในปอดสูง (pulmonell hypertension: PPHN) การรักษาทารกที่เป็นผู้ป่วยหนัก MAS จะรักษาภายใน 1-2 สัปดาห์

เนื้อหา: Kajsa Bohlin Blennow

อ่านเพิ่มเติม