อาการชักในทารกแรกเกิด

อาการชักในทารกแรกเกิดจะคล้ายกับอาการชักของคนเป็นโรคลมบ้าหมูที่เกิดขึ้นตอนโต โดยเกิดการกระตุกที่แขนข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างหรือที่ขา อาการยังสามารถกำเริบเพิ่มขึ้นได้ เช่น การเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ โดยหมุนแขน (พายเรือ) ขา (ปั่นจักรยาน) หรือการเคี้ยวปาก สัญญาณบ่งชี้เพิ่มเติมได้แก่ การหยุดหายใจ การกัดริมฝีปาก การเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต หรือการเต้นของชีพจร อาการมักจะเกิดขึ้นสั้น ๆ ใช้เวลาไม่กี่วินาทีจนถึงไม่กี่นาที

สาเหตุ

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการชักในทารกแรกเกิด คือ ภาวะขาดอากาศหายใจ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะเลือดออกในสมอง น้ำตาลในเลือดต่ำ และความผิดปกติของการเผาผลาญ อาการชักยังเกิดขึ้นได้จากการขาดยา หากแม่ใช้ยาหรือสารเสพติดบางอย่างในระหว่างตั้งครรภ์

การตรวจวินิจฉัย

ผู้ที่สังเกตเห็นการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ สามารถใช้สมาร์ทโฟนถ่ายคลิปเด็กสั้น ๆ แล้วนำไปให้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ดูได้ มีการใช้หลาย ๆ วิธีเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและควบคุมการรักษา เช่น การบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง ด้วยเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) โดยขั้วไฟฟ้าต่าง ๆ จะแนบติดกับศีรษะของเด็กและภาพคลื่นไฟฟ้าสมองจะปรากฏบนจอภาพ

อาการชักต้องได้รับการตรวจโดยทันทีและหาสาเหตุเพื่อรับการรักษา การตรวจอาการชักประกอบด้วยการตรวจเลือด เพื่อหาระดับน้ำตาลในเลือดที่ต่ำปริมาณที่ผิดปกติของเกลือชนิดต่าง ๆ และตรวจหาสัญญาณของการติดเชื้อ จากนั้นยังมีการทำอัลตราซาวด์ และใช้เครื่องถ่ายภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อสร้างภาพสมองและตรวจหาอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้

การรักษา

การรักษาต้องหาสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และในขณะเดียวกันก็รักษาอาการชัก ด้วยยาคลายกล้ามเนื้อเกร็งและยากันชัก อาการชักมักเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าสมองมีอาการระคายเคือง และด้วยการรักษาที่ถูกวิธีจะทำให้อาการดีขึ้นภายในไม่กี่สัปดาห์ และไม่จำเป็นต้องใช้ยาคลายกล้ามเนื้อเกร็งอีกต่อไป สำหรับเด็กบางคนที่ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานาน ๆ ต้องใช้ยาคลายกล้ามเนื้อเกร็งและยากันชัก

ข้อมูลเชิงลึก