ภาวะเลือดออกในสมองในเด็กเกิดใหม่

เลือดที่ออกภายในและบริเวณรอบ ๆ สมอง จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อทารกที่คลอดก่อนกำหนด ความเสี่ยงของภาวะเลือดออกในสมองจะมีมากที่สุดในช่วง 5 วันแรกหลังคลอด สาเหตุของการมีเลือดออกในสมองคือเส้นเลือดที่ยังไม่สมบูรณ์ ซึ่งสามารถแตกได้ในระหว่างการคลอดที่ยากลำบาก หรือเกี่ยวข้องกับภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ในทารกแรกเกิด

ส่วนของสมองที่อ่อนไหวที่สุดเป็นบริเวณเซลล์ประสาท ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาก่อนในช่วงที่เด็กอยู่ในครรภ์ เซลล์เหล่านั้นได้ย้ายไปยังส่วนนอกของสมองใหญ่ แล้วปล่อยให้โครงสร้างหลอดเลือดที่เลือดไหลออกง่ายเชื่อมต่อกับช่องสมองซึ่งเรียกว่า โพรงสมอง

สาเหตุ

ภาวะเลือดออกในสมองในเด็กแรกเกิดส่วนใหญ่ มักจะเกิดขึ้นกับทารกที่คลอดก่อนกำหนด การที่เลือดออกในเนื้อเยื่อสมองของเด็กที่คลอดครบกำหนดถือเป็นเรื่องผิดปกติอย่างมาก

การวินิจฉัย

หลักปฏิบัติในแผนกทารกแรกคลอด คือ การตรวจอัลตราซาวด์สมองของเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดเร็วเกินไปทุกราย เพื่อดูการไหลออกของเลือด การทำอัลตราซาวนด์ครั้งแรกได้ทำไปเรียบร้อยแล้วในวันแรก ๆ ที่เด็กเกิดมา จากนั้นจะทำเป็นประจำในช่วงของการรักษา สำหรับเด็กที่เกิดก่อนสัปดาห์ที่ 28 จะมีการตรวจสมองด้วยกล้องสนามแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงเวลาครบกำหนดคลอดของเด็ก เพื่อให้สามารถประเมินการพัฒนาของสมอง และความเสียหายถาวรที่อาจเกิดขึ้นได้ดีขึ้น

การทำนายอาการโรค

ภาวะเลือดออกเหล่านี้เรียกว่า ภาวะเลือดออกภายในโพรงสมอง โดยแบ่งระดับอาการออกป็น 4 ระดับ ดังนี้ ระดับที่ 1 เป็นระดับอาการที่เบาที่สุด คือ การจำกัดพื้นที่เจริญเติบโตแต่ไม่จำกัดภายในโพรงสมอง หรือไม่มีเลือดเข้ามาในโพรงสมองนั่นเอง ระดับที่ 2 คือ มีเลือดจำนวนน้อยเข้าไปในโพรงสมอง เลือดออกระดับที่ 3 เป็นระดับที่มีปริมาณเลือดจำนวนมากเข้าไปเติมโพรงสมองมากกว่าครึ่งหนึ่ง เลือดออกระดับที่ 1-3 ไม่ส่งผลกระทบต่อเซลล์ประสาทของสมอง เลือดออกระดับที่ 4 เกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อสมองที่ติดกับโพรงสมอง และเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ความเสียหายอย่างถาวรของสมอง

อาการเลือดออกระดับที่ 1-2 จะหายได้เองตามธรรมชาติ และไม่ค่อยเกิดปัญหาทางระบบประสาทในอนาคต ภาวะเลือดออกระดับที่ 3 มีความเสี่ยงที่เด็กจะพัฒนาไปเป็นภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ ซึ่งศีรษะจะโตอย่างรวดเร็ว เด็กที่มีภาวะเลือดออกในสมองระดับที่ 4 มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดปัญหาภาวะความเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อในอนาคต

เนื้อหา :Kajsa Bohlin Blennow พยาบาลวิชาชีพ

อ่านเพิ่มเติม