ปัจจัยห้าข้อที่จะช่วยให้เด็กกินนมแม่ง่ายขึ้นและลดปัญหาในการให้นมแม่

1. การอ้าปากงับนมของเด็ก

เด็กอ้าปากเต็มที่หรืออ้าปากงับเฉพาะหัวนมหรือไม่

สาเหตุที่พบบ่อยของปัญหาเด็กอ้าปากกว้างไม่พอ

  • เด็กอยู่ห่างจากเต้านมมากเกินไป
  • คางของเด็กไม่แนบชิดกับเต้านม
  • เด็กได้อ้าปากงับนมเข้าปากเร็วเกินไป ก่อนที่เด็กได้ใช้เวลาเลียและค้นหาอย่างเพียงพอ

เสนอแนะวิธีแก้ปัญหา

  • การสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อจะช่วยกระตุ้นพฤติกรรมการดูดนมแม่
  • ท่าเอนหลังของแม่ทำให้เด็กเคลื่อนเข้ามาแนบชิด (ใช้กฎแรงโน้มถ่วง)
  • ปล่อยให้เด็กเลียและค้นหาจนกระทั่งเห็นลิ้นที่ริมฝีปาก และเด็กอ้าปากกว้างเต็มที่
  • หากเด็กงับเร็วเกินไป จัดตำแหน่งให้เด็กนอนอยู่เหนือเต้านมเล็กน้อย แต่ให้คางของเด็กชิดติดกับเต้านม เพื่อให้เด็กสามารถค้นหาหัวนมได้
  • ในท่าให้นมแบบนั่งตัวตรง การที่หัวนมชี้ตรงริมผีปากบนหรือจมูกของเด็กจะเป็นผลดี
  • การใช้มือข้างหนึ่งรองรับด้านหลังไหล่ของเด็กให้แน่น จะช่วยให้คางของเด็กเข้ามาแนบชิด

2. ความรู้สึกเมื่อให้ลูกดูดนม

มีอาการเจ็บเมื่อเริ่มให้ลูกดูดนมซึ่งสักพักก็หาย หรือมีอาการเจ็บตลอดเวลาที่ให้ลูกดูดนมหรือไม่

สาเหตุที่พบบ่อยของปัญหาอาการเจ็บเรื้อรังเมื่อให้นมลูก

  • เด็กอ้าปากกว้างไม่พอเลยทำให้หัวนมถูกบีบอัด

เสนอแนะวิธีแก้ปัญหา

  • หากมีอาการเจ็บเรื้อรังโปรดดูข้อ 1
  • ที่สำคัญต้องให้คางของเด็กชิดติดเต้านม
  • ให้เด็กลองอ้าปากใหม่อีกครั้ง และปล่อยให้เด็กเลียและค้นหาจนกระทั่งเด็กอ้าปากกว้าง
  • ลองใช้ท่าอื่นเมื่อให้นม
  • กินยาแก้ปวดหากจำเป็น

3. แรงดูดของเด็ก

เด็กได้ดูดเต็มแรงหรือรู้สึกเหมือนดูดแค่เบา ๆ หรือไม่

สาเหตุที่พบบ่อยของปัญหาแรงดูดของเด็กไม่พอ

  • เด็กอ้าปากกว้างไม่พอ
  • คางของเด็กไม่ได้สัมผัสแนบชิดกับเต้านมของแม่
  • กลไกการหลั่งน้ำนมของแม่ยังไม่เริ่มทำงาน
  • อาการเจ็บจากการให้นมลูกจะทำให้น้ำนมออกยากกว่าปกติ
  • เด็กอาจจะอิ่มแล้ว
  • เด็กได้กินอาหารเสริม

เสนอแนะวิธีแก้ปัญหา

  • โปรดดูข้อ 1
  • หากมีอาการเจ็บโปรดดูข้อ 2
  • ถ้าเด็กได้กินอาหารเสริม โปรดถามเจ้าหน้าที่ว่าสามารถลดปริมาณได้หรือไม่

4. จังหวะการดูดของเด็กไม่สม่ำเสมอ

การดูดของเด็กเป็นจังหวะมีการหยุดพักสั้น ๆ และการดูดจะเริ่มแรงและลึกขึ้นหลังจากนั้นไม่กี่นาทีหรือเด็กดูดแรงโดยไม่หยุดเด็กอ้าปากดูดแล้วปล่อยซ้ำ ๆ กรีดร้องหรือหลับไปทันทีหรือไม่

สาเหตุที่พบบ่อยของปัญหาจังหวะการดูดของเด็กไม่สม่ำเสมอ

  • กลไกการหลั่งน้ำนมยังไม่เริ่มทำงาน ซึ่งอาจใช้เวลาต่างกันก่อนที่น้ำนมเริ่มไหล

เสนอแนะวิธีแก้ปัญหา

  • ลองหาท่าให้นมแม่ที่สบายมากขึ้น
  • ฝึกผ่อนคลาย/คิดถึงสิ่งที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
  • ขอให้คู่ของคุณนวดไหล่/เท้า
  • ดื่มหรือรับประทานอาหาร
  • กินยาแก้ปวดหากจำเป็น

5. ลักษณะของหัวนมหลังให้นมลูก

หัวนมอยู่ในสภาพปกติหรือมีลักษณะยืดออก/บีบอัดเล็กน้อยหรือไม่

สาเหตุที่พบบ่อยของปัญหาหัวนมถูกบีบอัด

  • เด็กอ้าปากกว้างไม่พอซึ่งทำให้เกิดอาการเจ็บและรู้สึกไม่สบายขณะที่ให้นม และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นแผลที่หัวนม และอาจมีผลกระทบต่อการการหลั่งน้ำนม