แผ่นป้องกันหัวนมสำหรับทารกแรกเกิด

แผ่นป้องกันหัวนมเป็นอุปกรณ์ช่วยในการให้นมแม่ชั่วคราว ที่สามารถช่วยให้นมได้ง่ายขึ้นเมื่อมีอาการเจ็บจากการให้นมแม่ หัวนมแตกเป็นแผล หรือถ้าทารกมีปัญหาในการอ้าปากงับหัวนมหลังจากคลอดวันแรก เป็นเรื่องดีที่จะทำให้คุณได้มั่นใจก่อนว่าคุณมีเทคนิคที่ดีในการให้นมลูก ซึ่งจะช่วยทั้งบรรเทาอาการเจ็บปวดและแผล และช่วยให้ลูกดูดนมได้ง่ายขึ้นด้วย

แผ่นป้องกันหัวนม เป็นจุกนมพลาสติกที่วางครอบหัวนมเมื่อคุณให้ลูกกินนม ลูกจะดูดที่จุกนมพลาสติกแทนที่จะดูดหัวนมโดยตรง เพื่อให้น้ำนมไหลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นสิ่งสำคัญที่เด็กจะอมงับจุกนมเต็มทั้งจุกในปาก และไม่ใช่ดูดแค่ปลายจุกนม

แผ่นป้องกันหัวนมแบบใสติดสนิทกับเต้านมปลอม ภาพถ่าย: Oscar Segerström

คำแนะนำเกี่ยวกับแผ่นป้องกันหัวนม

  • แผ่นป้องกันหัวนมเป็นอุปกรณ์ช่วยชั่วคราว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเริ่มแรกของการให้นมแม่
  • เมื่อรู้สึกดีขึ้นก็สามารถค่อย ๆ เลิกใช้แผ่นป้องกันหัวนม ไม่ควรใช้แผ่นป้องกันหัวนมจนกว่าเด็กจะแสดงสัญญาณว่าต้องการกินหรือหิวนมแม่ และไม่ควรจะใช้ในช่วงวันแรกหลังคลอด ที่สำคัญให้เด็กอ้าปากกว้างเต็มที่อมจุกนม เพื่อให้เด็กได้รับน้ำนมและเพื่อการไหลออกของน้ำนมมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถลองให้เด็กดูดจุกนมสักสองสามนาทีแล้วจึงถอดออก
  • การใช้แผ่นป้องกันหัวนมขนาดใหญ่มีประโยชน์ในการทำให้เด็กอ้าปากกว้าง ควรลองดูว่าการใช้แผ่นป้องกันหัวนมทำให้รู้สึกดีหรือไม่ เพื่อให้หัวนมไม่ถูกบีบหรือเกิดการเสียดสีที่หัวนม
  • เป็นเรื่องสำคัญที่จะให้เด็กเลียและดูดริมฝีปาก ก่อนเด็กจะอ้าปากงับจุกนมยิ่งเลียและดูดริมฝีปากเด็กก็ยิ่งอ้าปากกว้างขึ้น และลิ้นก็ยิ่งลงลึกไปหลังปาก ซึ่งทำให้เด็กสามารถอ้าปากกว้างดูดจุกนมได้ ไม่อย่างนั้นเด็กอาจจะงับแต่ปลายจุกนม ซึ่งอาจจะทำให้รู้สึกเจ็บและอาจขัดขวางการไหลของน้ำนมด้วย
  • สิ่งที่สำคัญคือ แผ่นป้องกันหัวนมช่วยทำให้สถานการณ์ดีขึ้น
  • หัวนมควรจะอยู่ในสภาพปกติแค่อาจยืดออกเล็กน้อย ทันทีที่ให้นมเสร็จเมื่อถอดแผ่นป้องกันหัวนมออก
  • รักษาสุขอนามัยของมือและแผ่นป้องกันหัวนมเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหัวนมระคายเคืองแตกและ/หรือเป็นแผล เพื่อหลีกเลี่ยงแบคทีเรียที่อาจทำให้เกิดปัญหาเต้านม
วางนิ้วไว้ที่รูในขณะที่สวมแผ่นป้องกันหัวนมที่หัวนม ภาพถ่าย: Oscar Segerström

นี่คือวิธีการสวมแผ่นป้องกันหัวนมที่เต้านมของคุณ

  • ล้างมือให้สะอาดทำให้แผ่นป้องกันหัวนมชื้นด้วยน้ำจับที่ขอบ
  • กลับแผ่นป้องกันหัวนมให้ด้านในอยู่ด้านนอก อย่าลืมว่าควรให้ขอบด้านสั้นอยู่ตรงกับจมูกเด็ก
  • สวมแผ่นป้องกันหัวนมครอบบนหัวนม/ลานหัวนม ควรจะเกิดสุญญากาศเพื่อให้แผ่นป้องกันหัวนมไม่หลุดออกข้อแนะนำ! วางนิ้วไว้ที่รูในขณะที่คุณสวมแผ่นป้องกันหัวนม ดังนั้นจะให้เกิดสุญญากาศและหัวนมจะถูกดูดเข้าไปในแผ่นป้องกันหัวนม (ดูภาพด้านล่าง)
  • เมื่อให้เด็กอยู่ในท่าเข้าเต้า ควรจะให้เด็กดูดริมฝีปากและเลียจุกนม เพื่อให้เด็กอ้าปากกว้าง ๆ หลีกเลี่ยงการกดจุกนมเข้าไปในปากของเด็ก
การล้างแผ่นป้องกันหัวนมให้สะอาดด้วยน้ำเย็น ภาพถ่าย: Oscar Segerström

วิธีการดูแลแผ่นป้องกันหัวนม

  • หลังจากให้นมแม่ทุกครั้ง: ล้างแผ่นป้องกันหัวนมด้วยน้ำเย็นไหลผ่าน
  • หลังจากนั้นให้ล้างทำความสะอาดแผ่นป้องกันหัวนมด้วยน้ำอุ่นและยาล้างจานและล้างออกให้หมด
  • จากนั้นล้างออกด้วยน้ำเย็นอีกครั้ง
  • เก็บแผ่นป้องกันหัวนมไว้ที่สะอาดและแห้ง
  • ควรจะทำความสะอาดแผ่นป้องกันหัวนมโดยการฆ่าเชื้อและต้มน้ำเป็นเวลาประมาณ 5 นาทีวันละครั้งเนื่องจากเราไม่สามารถต้มแผ่นป้องกันหัวนมที่โรงพยาบาลได้ เราแนะนำให้ใส่แผ่นป้องกันหัวนมลงในแก้วน้ำร้อนสักสองสามนาทีวันละครั้ง